top of page

(Un)silence breath หายใจเดียวกัน

 

“เราควบคุมอากาศไม่ได้แต่เราส่งเสียงของลมหายใจของเราได้เพราะเรามีลมหายใจเดียวกัน”

ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 เป็นปัญหาที่เกิดซ้ำ ๆ ในช่วงหน้าแล้งของหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ

โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่มีความรุนแรงของฝุ่นควัน PM 2.5 หนักกว่าพื้นที่อื่น เนื่องด้วยสภาพภูมิประเทศตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง จึงทำให้พื้นที่ภาคเหนือถูกเพ่งเล็งจากทั้งสังคมและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องว่า มีส่วนทำให้เกิดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5และถูกเชื่อมโยงไปยังประเด็นฝุ่นควันจากการเผาทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่า และพื้นที่โล่งแจ้ง โดยในความเป็นจริงควรแยกแยะการใช้ไฟในช่วงฝุ่นควัน PM2.5 ออกเป็นการใช้ไฟโดยจำเป็นและไม่จำเป็น อย่างกรณีการใช้ไฟของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอเพื่อเตรียมพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมตามวิถีดั้งเดิมอย่าง ‘ไร่หมุนเวียน’ ที่ตรงกับ ช่วงที่เกิดปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 เมื่อรัฐไม่เคยออกมาชี้แจงถึงสาเหตุของปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 อย่างตรงไปตรงมา การพยายามหาผู้รับผิดชอบในปัญหานี้จึงเกิดขึ้น และทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าถูกมองอย่างเหมารวมว่าเป็นต้นตอของปัญหาฝุ่นควัน

แนวคิดของชิ้นงานนี้จึงมีความตั้งใจอยากสื่อสารไปยังประชาชนที่ล้วนแต่เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ ผ่านรูปภาพ

‘จมูก’  ที่เป็นอวัยวะสำคัญในการหายใจของทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนชนชั้นใด ช่วงวัยใด ประกอบอาชีพใด อาศัยอยู่ในเมืองหรือในป่า ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบจากปัญหาฝุ่นเช่นเดียวกัน จึงเลือกใช้ ‘ฝุ่นจริง’ ที่เก็บจากสถานที่ต่าง ๆ ทั้งฝุ่นจากการเผา สถานที่ก่อสร้าง พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่า และถนน  โปรยทับลงไปบนรูปจมูกของแต่ละคน เพื่อย้ำเตือนว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหานี้แต่เพียงลำพัง ขณะที่รัฐบาลและหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเอื้ออำนวยให้ประชาชนเข้าถึงอากาศสะอาด กลับไม่ได้มีความจริงใจในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด หนำซ้ำยังปล่อยให้แหล่งกำเนิดฝุ่นลอยตัวเหนือปัญหามาเป็นระยะเวลาหลายปี ในชิ้นงานนี้มีชิ้นงานหนึ่งชิ้นที่ใช้แทน ‘กลุ่มทุนไทย’ บางกลุ่มที่ไปลงทุนและส่งเสริมการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวในรัฐฉาน เมียนมาร์ และลาว จนนำมาสู่ฝุ่นควันข้ามพรมแดน

‘จมูก’ ที่เป็นอวัยวะสำคัญในการหายใจของทุกคน ปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ​​ทุกคนล้วนได้รับผลกระทบ แต่รัฐกลับไม่เคยออกมา

ชี้แจงถึงสาเหตุของปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 อย่างตรงไปตรงมา การพยายามหาผู้รับผิดชอบในปัญหานี้จึงเกิดขึ้น และทำให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าถูกมองอย่างเหมารวมว่าเป็นต้นตอของปัญหาฝุ่นควัน​และกลับไม่ได้มีความจริงใจในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด หนำซ้ำยังปล่อยให้แหล่งกำเนิดฝุ่นลอยตัวเหนือปัญหามาเป็นระยะเวลาหลายปี

เกษตรกร.png

เกษตรกร : พอมีนโยบายห้ามเผาออกมาเพื่อลดฝุ่น นโยบายนี้ไม่ช่วยแก้ปัญหาเลย อย่างช่วงที่ยังไม่ได้ใช้ไฟในการทำไร่ฝุ่นก็มีมาอยู่แล้ว

               แสดงว่าฝุ่นมันมีที่มาที่ไป

ก่อสร้าง.png

คนงานก่อสร้าง : มันบอกไม่ค่อยถูก มันก็มีบ้างไม่มีบ้าง จริง ๆ ผมเพิ่งออกจากโรงพยาบาล เพราะเกิดจากงานพวกนี้ด้วย

คนทำงานในห้องแอร์.png

คนทำงานในห้องแอร์ : เครื่องกรองอากาศมันจำเป็นอยู่แล้วนะ มันทำให้อากาศดีขึ้น ถ้าไม่มีเงินซื้อก็ต้องใส่แมสก์ ถ้าไม่มีเงินซื้อแมสก์ก็ชิบหาย
 

ทั่วไป.png

คนทั่วไป : ไม่อยากออกไปข้างนอกไปสัมผัสฝุ่น ห่วงเรื่องสุขภาพ

ตำรวจ.png

ตำรวจจราจร : เรื่องฝุ่นมันมีตลอด ภูมิต้านทานเราจะรับไหวแค่ไหน ถ้ารู้ตัวว่ารับไม่ไหว ก็ปิดจมูก ปิดบ้างเพื่อป้องกัน

ทำงานกลางแจ้ง.png

คนทำงานกลางแจ้ง : มันก็อึดอัด หายใจไม่สะดวก เพราะเราทำงานที่ต้องใช้แรง ต้องหายใจเยอะ ๆ

ชาติพันธุ์.png

ชาติพันธุ์ : คนอยู่กับป่าอย่างเราจะถูกมองว่าเผาป่าทำให้เกิดฝุ่น จริง ๆ ฝุ่นมันมีมาตลอดทั้งปี มันแค่เห็นด้วยตาช่วงหน้าแล้งเฉย ๆ

นักเรียน.png

นักเรียน : คิดว่าเราแข็งแรงอยู่แล้ว ถึงฝุ่นจะเยอะขนาดไหน เราก็ไปโรงเรียนปกติอยู่ดี แต่ถ้านาน ๆ ไปเราจะเห็นผลที่ตามมาเอง

ว่ามันจะเป็นยังไง

ไม่มีชื่อ (1054 x 1556 px).png

กลุ่มทุนไทยที่ไปทำเกษตรพันธสัญญาที่รัฐฉานและลาว : ไม่รู้ ไม่เกี่ยว แค่ไปลงทุน แต่ชาวบ้านเผาเอง 

เรื่องและภาพ: กัญญ์วรา หมื่นแก้ว, จิรัฏฐ์ เลิศเศรษฐพันธุ์

---

ผลงานชุดนี้อยู่ในโครงการ Journer for Air: นักสื่อสารเพื่อลมหายใจ โดยความร่วมมือจากสภาลมหายใจเชียงใหม่และ Lanner เป็นส่วนหนึ่งของ “โครงการปฏิบัติการเมืองเชียงใหม่ลดการปลดปล่อยมลพิษฝุ่นควันและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอน

โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” สนับสนุนโดย สํานักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 

โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page