top of page

อัพเดต : อนุกรรมาธิการไฟป่า ลงพื้นที่เชียงใหม่

Tag :

#สภาลมหายใจเชียงใหม่
#อนุกรรมาธิการไฟป่า

เมื่อวันที่ 26-27 มกราคมที่ผ่านมา อนุกรรมาธิการไฟป่า รัฐสภาลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อรับฟังช่องว่างปัญหาข้อจำกัดการจัดการไฟป่าฝุ่นควัน เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและการตั้งคำของบประมาณในปี 2569 โดยมีประเด็นหลักที่น่าสนใจคือเรื่อง สาเหตุไฟป่าจากการฝึกซ้อมของทหารโดยใช้กระสุนจริง ตำบลสบเตี๊ยะ อ.จอมทอง

.

ผลกระทบสำคัญคือไฟไหม้ลุกลามในพื้นที่ป่าเนื่องจากการซ้อมในฤดูแล้ง บ้านเรือนแตกร้าวโดยไม่มีการเยียวยาลูกปืนใหญ่บางส่วนตกค้างในพื้นที่ ซึ่งเคยมีกรณีคนนำกลับมาบ้านเพื่อแยกชิ้นส่วนขาย จนทำให้เสียชีวิตหลายราย ในส่วนนี้จะมีข้อเสนอไปที่กระทรวงกลาโหมเพื่อเปลี่ยนช่วงเวลาการซ้อม/ย้ายสถานที่ฝึกซ้อม เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ป่าผลัดใบทำให้มีผลกระทบสูง

.

 งบประมาณอุดหนุน

จากการถ่ายโอนภารกิจจัดการไฟป่า: มุ่งเน้นพื้นที่มีปัญหาเพื่อนำร่องก่อน เชียงใหม่ได้รับงบประมาณ 19 องค์กรปกครองท้องถิ่น โดยเป็น 14 อบต.และเขียนคำของบประมาณโดยตรงอีก 5 อปท.(เทศบาล) ได้มีการแลกเปลี่ยนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับเงินอุดหนุน ได้แก่ ตำบลในโซนใต้ อ.อมก๋อย ฮอด แม่แจ่ม แม่วาง เรื่องแผนการจัดการไฟป่าปี 2568 และการใช้งบประมาณ ระบบข้อมูลและตัวชี้วัด KPI ระเบียบการใช้งบอุดหนุน เช่น การใช้งบฯจัดซื้อโดรน การจัดซื้อประกันชีวิตให้แก่ชุดดับไฟตำบล/หมู่บ้าน ฯลฯ มีนวัตกรรมที่น่าสนใจและมีความก้าวหน้าระดับตำบลหลายเรื่อง เช่น ตำบลบ้านหลวงจัดทำคลังข้อมูลตำบลเพื่อสนับสนุนศูนย์บัญชาการตำบล มีแอปพลิเคชั่นของตนเองเพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้และอื่น ๆ ในด้านกำลังคนมีการจัดตั้งสิงห์ไฟ การจัดหาอุปกรณ์มีความพร้อมมากขึ้น ทั้งเครื่องเป่าลม กล้องวงจรปิด และโดรน

.

ประเด็นที่ยังมีช่องโหว่อยู่คือเรื่อง การจัดทำแผนบริหารเชื้อเพลิงร่วมกันตั้งแต่ต้นฤดูก่อนเข้าสู่ช่วงปฏิบัติการ แผนฯของชุมชนมีช่องทางทำให้ชอบด้วยกฎหมายแล้วแต่ชุมชนและอปท.ยังไม่รู้และไม่มีพื้นที่ไหนทดลองดำเนินการ ข้อควรคำนึงเมื่อมีงบฯ จ้างชุดสิงห์ไฟตำบลละ 15 คนรวม 1,598คน แล้วจะไม่ทำลายกระบวนการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชนที่เคยมีมาอย่างไร ในส่วนอปท.ที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนนั้น จังหวัดเชียงใหม่ได้ทำคำของบประมาณกลางจำนวน 200 ล้านบาทจากรัฐบาลมาเพื่อการดำเนินการ และอยู่ระหว่างการประสานดำเนินการติดตาม

.

 การกระจายอำนาจการจัดการ

การกระจายอำนาจการจัดการไฟป่าฝุ่นควันมาที่ระดับพื้นที่มากขึ้น MOU ร่วมระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติและกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น การอนุมัติอนุญาตแผนการจัดการไฟ และอื่น ๆ จากอธิบดีกรมป่าไม้-กรมอุทยานฯมาที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ในพื้นที่จังหวัด กำนันผู้ใหญ่บ้านเป็นเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย โจทย์คือจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้อย่างไร โดยเฉพาะในด้านการได้มีแผนการจัดการร่วมกันตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก่อนเข้าสู่ช่วงบริหารเชื้อเพลิง - และสู้ไฟ/เผชิญเหตุ

.

 โจทย์เรื่องการเผชิญเหตุได้ทันท่วงทีมากขึ้น

ดาวเทียมของ GISTDA ประมวลผลได้บ่อยขึ้น รอบ 5 วัน) การบินโดรนซึ่งจะต้องแก้ไขข้อกฎหมาย คนที่จะได้รับอนุญาต และช่วงเวลาการบิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมไฟร่วมกันกับโดรนอาสา

.

 ช่องว่างของระบบ Fire D ที่ต้องพัฒนาต่อ

การทำให้เกิดแผนเดียวกันระหว่างท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานป่าไม้ กลไกอนุมัติอนุญาตระดับอำเภอที่มีความพร้อม ขอแล้วไม่ได้บริหารเนื่องจากสภาพอากาศ ใช้ไฟแล้วหลุดเนื่องจากข้อจำกัดกำลังคน งบประมาณและความรู้ โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพิ่มอีก 1 แอปพลิเคชัน คือ CMPM 2.5 เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้บริหารสถานการณ์และประชาชน

.

 ด้านงบประมาณ

เสนอให้รัฐบาลทบทวนการบริหารงบประมาณในการดำเนินการเพื่อให้เกิดการบูรณาการงบที่กระจายอยู่ในหน่วยต่าง ๆ มาจัดการใหม่ และกระจายน้ำหนักการใช้ในแต่ละส่วน เช่น ด้านสาธารณสุขการป้องกันลดผลกระทบสุขภาพ การใช้ ฮ.บิน ฯลฯ เป็นต้น

.

 งานวิจัยและนวัตกรรม

นอกจากนี้ก็ยังมารพูดถึงงานวิจัยและนวตกรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : ที่สำคัญเพื่อให้หน่วยงานจังหวัดและภาคเอกชน ประชาชนนำไปขยายผล มุ้งสู้ฝุ่น,ห้องปลอดฝุ่น,เครื่องฯแปลงชีวมวล(ลำต้นข้าวโพด)เป็นไบโอชา /เครื่องมือขนาดเล็ก งานวิจัยภาคป่าไม้ (เฟส2) จากวช. ปี2568 ประกอบด้วย 5 โครงการย่อย คือ พัฒนายูเอวีหาจุดเกิดไฟเพื่อเข้าถึงไฟเร็ว ,การจัดการความขัดแย้ง, การคำนวณค่าใช้จ่ายการจัดการไฟโดยชุมชน-ท้องถิ่น, ยกระดับแอบพลิเคชั่น Fire D ขยายไปจ.พิษณุโลก, แผนยุทธศาสตร์จัดการไฟป่า 5 ปีจังหวัดเชียงใหม่ และการสื่อสารเชิงรุก

.

นอกจากเรื่องไฟป่าแล้ว ได้มีข้อเสนอแลกเปลี่ยนในประเด็นที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ได้แก่ เรื่องป่าชุมชน, เรื่องการแก้ไขปัญหาในระยะยาวสิทธิในที่ดินและการปรับเปลี่ยนอาชีพ,เรื่องการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (น้ำสายย่อยที่ลงน้ำปิง ฯลฯ) ซึ่งทางอนุกรรมาธิการจะนำไปจัดทำเป็นข้อเสนอในรายงาน เพื่อเสนอต่อครม.

โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page