top of page

สภาลมฯ และ Madre Brava แถลงลดฝุ่น PM2.5 ต้องลดอุตสาหกรรมปศุสัตว์

Tag :

#สภาลมหายใจเชียงใหม่ #หมอกควันเชียงใหม่

วันที่ 19 มีนาคม 2568 ณ บูทีก ผู้ใหญ่ลี กรุงเทพฯ  องค์กร Madre Brava ร่วมกับสภาลมหายใจเชียงใหม่ แถลงข่าว 'อุตสาหกรรมปศุสัตว์กับ PM2.5 : ตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการผลิตโปรตีนที่หลากหลาย'  โดยการนำเสนองานวิจัยล่าสุดจากองค์กร Madre Brava เรื่องอุตสาหกรรมปศุสัตว์กับ PM2.5 ตัดไฟแต่ต้นล้มด้วยการผลิตโปรตีนที่หลากหลายที่จัดทำร่วมกับ Asia Resarch and Engagement โดยพบว่าการเผาเพื่อการเกษตรอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรในประเทศไทยมากกว่า 34,000 รายต่อปี


ทั้งนี้ การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ทำให้เกิดการเผาทั้งในประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน  หากไม่มีมาตรการอะไรเกี่ยวกับการผลิตเนื้อสัตว์และอาหารทะเลมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มจาก 3.9 ล้านตันในปี 2020 จะขยายเป็น 5.1 ล้านตันในปี 2050 (อีก 25 ปีข้างหน้า) การเพิ่มปริมาณการเพาะปลูกข้าวโพดอาหารสัตว์ อาจทำให้ปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทยรุนแรงขึ้น จากการคำนวณทางสถิติ จำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกี่ยวข้องกับการเผาตอซังพืชทั้งหมดในประเทศไทยระหว่างปี 2020-2050 อาจสูงถึง 1,031,220 ราย โดยการเผาตอซังพืชประมาณร้อยละ 35 ของทั้งหมดมาจากการเพาะปลูกข้าวโพด การลดความต้องการอาหารสัตว์เพื่อการส่งออกควบคู่ไปกับการลดการผลิตเนื้อสัตว์โดยรวมและมาตรการอื่นๆ เป็นกุญแจสำคัญในการลดต้นทุนด้านมลพิษอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน


วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้อำนวยการองค์กร Madre Brava
วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้อำนวยการองค์กร Madre Brava

วิชญะภัทร์ ภิรมย์ศานต์ ผู้อำนวยการองค์กร Madre Brava ระบุว่ารายงานฉบับนี้เผยให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการผลิตเนื้อสัตว์และอาหารทะเลกับปัญหามลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 รายงานฉบับนี้เน้นการศึกษาถึงผลกระทบรุนแรงของการเกษตรปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเผาตอซังข้าวโพดที่ปลูกเพื่อผลิตอาหารสัตว์ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มระดับมลพิษทางอากาศในประเทศ โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งที่มีการเผาข้าวโพดจำนวนมากเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกใหม่


การแก้ไขปัญหามลพิษอากาศที่มาจากการเผาในพื้นที่เกษตรโดยเฉพาะข้าวโพดอาหารสัตว์ทั้งในภาคเหนือและประเทศเพื่อนบ้านเป็นปัญหาทางโครงสร้างที่รัฐบาลต้องสร้างระบบและมาตรการ ไม่ใช่การไล่จับเกษตรกรตัวเล็กตัวน้อย หรือแค่มีข้อสั่งการห้ามเผาโดยเด็ดขาดแบบเหมารวมไม่แยกแยะ


อย่างไรก็ตาม ความพยายามของชาวบ้านในอ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ที่พยายามเปลี่ยนพื้นที่การปลูกข้าวโพดให้เป็นการทำเกษตรยั่งยืนในพื้นที่จำนวนน้อยถือเป็นเรื่องที่ควรสนับสนุน สามารถพัฒนาระบบน้ำได้ และมีการปรับพื้นที่เป็นเกษตรอินทรีย์ ขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถพัฒนาระบบน้ำได้ นอกจากนี้ยังมีแนวทางเรื่อง Forest Farm คือปลูกต้นไม้และตัดขายได้ ขายคาร์บอนเครดิตระหว่างการเติบโต ทำให้ประเทศไทยมีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นจากการหมุนเวียนในลักษณะสวนป่า แต่ก็ไปติดกับดักระเบียบกฎหมายในพื้นที่ คทช.(คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2562 ที่ยังไม่มีระเบียบรองรับ ถ้าไม่มีมาตรการอะไรในระดับรัฐ พื้นที่ดังกล่าวก็จะยังคงเป็นข้าวโพดต่อไป


สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานสภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่าการลดการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นแนวทางที่ถูกต้องและยั่งยืน แต่ต้องมีการวางแผนและสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ชี้การปลูกข้าวโพดในพื้นที่ป่า หรืออุทยานแห่งชาติ เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยต้องมีการจัดการเรื่องสิทธิที่ดินและการสนับสนุนจากภาครัฐด้วยเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตอย่างยั่งยืน.


ปริศนา พรหมมา คณะทำงานสภาลมหายใจเชียงใหม่
ปริศนา พรหมมา คณะทำงานสภาลมหายใจเชียงใหม่


โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page