top of page

ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น

Finding Inspiration in Every Turn

พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ....

และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

เวทีเสวนา “ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น: พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ....

และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”

วันอังคาร ที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30-12.30 น.

ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่


ผู้เข้าร่วมเสวนา 
- คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ...
- คุณทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานกรรมการอำนวยการสภาลมหายใจเชียงใหม่
- คุณกานต์ รามอินทรา Integrated Team Leader, UNDP ประเทศไทย
- คุณณัฐพงศ์ โพธิ์วัฒนะชัย นักบริหารแผนงานชำนาญการ สสส.
- ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ คณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน/กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพรบ.บริหารจัดการ
เพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ...


ดำเนินรายการโดย
- คุณบัณรส บัวคลี่ เครือข่ายสภาลมหายใจภาคเหนือ

“ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น  พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... และการ

สัมมนา “ความหวังประเทศไทย ทางออกแก้ฝุ่น พระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ...

และการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน”

คุณจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ตั้งคณะกรรมาธิการ และคณะอนุกรรมาธิการ-ร่างพรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดฯ

“รับฟังไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”“เปลี่ยนแปลงกฎหมาย (มีผู้เกี่ยวข้องทางกฎหมายเป็นที่ปรึกษา) สร้างกฎหมายใหม่”พรบ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. ... เป็นวาระเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายประกาศใช้ต้นปี 2568 และคาดหวังว่า 5 ปี ค่าฝุ่นต้องลดลงตามเกณฑ์ WHO

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรฒ์ เริ่มต้นร่าง.พรบ.จากการสรุปและถอดบทเรียนการแก้ปัญหาที่ผ่านมา

  1. การไล่ดับไฟ ไม่ใช่คำตอบของการแก้ปัญหาฝุ่นควัน

  2. ต้องทำงานต่อเนื่องตลอดทั้งปี

  3. ต้องใช้ชุดข้อมูลแก้ปัญหา

  4. ต้องทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน

  5. กระจายอำนาจ สร้างศักยภาพ ความเข้มแข็งระดับพื้นที่

ปัญหาฝุ่นควันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง (ภูเขาน้ำแข็ง)

  1. ระบบการทำงานการบริหารของภาครัฐ

  2. ปัญหาเศรษฐกิจความยากจน ความเหลื่อมล้ำ

  3. ปัญหาการกำกับระบบตลาดเสรี

การออกแบบกฎหมายอากาศสะอาดจาก 7 ร่าง เป็น “ฉบับใหม่” มีเป้าหมายหลัก “เพื่ออากาศสะอาด”เครื่องมือกลไก

  1. มาตรฐานอากาศสะอาด

  2. สวัสดิภาพสาธารณะ

  3. ดัชนีคุณภาพอากาศ AQI

  4. ดัชนีคุณภาพอากาศ และสุขภาพอนามัย AQHI

  5. ระบบเฝ้าระวัง แจ้งเตือน

  6. Big DATA

  7. เขตเฝ้าระวัง

  8. เขตประสบมลพิษ

  9. เขตปฏิบัติการลดมลพิษ

  10. แผนบริหารจัดการชีวมวล

คุณกานต์ รามอินทรา อากาศสะอาด ผลกระทบฝุ่นควันเป็นประเด็นระดับโลก ทุกปีมีคนเสียชีวิตจากฝุ่นควันประมาณ 8 ล้านคน/ปี มีผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ 6 ล้านล้านเหรียญ 5% ของ GDP โลก คนเป็นมะเร็งปอดปัจจุบันประมาณ 120,000 คน

แนวทางการแก้ปัญหาในมุมของ UNDP การผลักดัน SDGs ความยั่งยืนระดับประเทศ/จังหวัด มาตรการด้านการเงิน Sustainability linked bond เงินทุนเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในแต่ละด้าน และการจัดการฝุ่นของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ความร่วมมือภาครัฐ “การประสานงานต้องการการบูรณาการทุกภาคส่วน” บทบาทภาคเอกชน ต้องรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับ UNDP ต้องเพิ่มการรายงานเรื่องฝุ่นควัน การจัดการกับฝุ่นควันข้ามแดนต้องทำอย่างไร???

คุณณัฐพงศ์ โพธิ์วัฒนะชัย ประชากรไทยกว่า 38 ล้านคน อยู่ในพื้นที่ฝุ่นในระดับผลกระทบต่อสุขภาพ พบผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศพุ่ง 1.7 ล้านคน(ข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข เม.ย.67) จำนวนผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ปี 67 รวม 6,159,220 ราย เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด 136,422 ราย มลพิษทางอากาศแต่ละภาคของประเทศไทย ที่ต้องเผชิญ 1.ฝุ่น PM2.5 PM1.0 (มะเร็งปอด) 2.สารเบนซิน(มะเร็งเม็ดเลือดขาว) 3.สาร 1,3-บิวทาไดอีน มะเร็งปอด เป็น 1 ใน 5 สาเหตุ ของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร คนภาคเหนือ 10 ปีที่ผ่านมาอัตราการสูบบุหรี่ลดลงจาก 22% เป็น 17% ดังนั้น ความเสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจส่วนหนึ่งมาจากปัญหาฝุ่นควัน

คุณทศพล เผื่อนอุดม บทเรียนของเชียงใหม่ มีการตั้งคณะกรรมการบูรณาการฯ (ทุกภาคส่วน) ประชุมทุกสัปดาห์ ในปี 67 ที่ผ่านมา “ดับไฟเร็ว ให้บทบาทท้องถิ่นเยอะ” ข้อจำกัดการใช้งบประมาณของราชการ “ต้องมีกองทุนฯ” “ปลดล็อคพื้นที่ป่า-อนุบัญญัติ” สนับสนุนการจัดตั้งหน่วยงานที่เฝ้าดูติดตามประเด็นปัญหาอย่างต่อเนื่องตลอดปี

คุณสุรีรัตน์ ตรีมรรคา กฎหมายยุคใหม่ของการทำกฎหมายประเทศไทยจาก 7 ร่าง สู่ร่างใหม่ (ความเป็นธรรมด้านสิ่งแวดล้อม ยุติธรรมทางสังคมโดยเฉพาะกลุ่มคนเปราะบางในพื้นป่า)

  1. เน้นการมีส่วนร่วมให้ชัดเจน ต้องมีตัวแทนจากภาคประชาสังคม(สรรหาจากประชาชน)

  2. ต้องมีพื้นที่กลาง เวทีกลาง รับฟังความคิดเห็นประชาชนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (รายงานผล สะท้อนปัญหาการใช้กฎหมาย)

  3. กลไกระดับประเทศ จังหวัดใหญ่ๆ เขตปกครองพิเศษ ต้องมีคณะกรรมการระดับพื้นที่ จัดการในระดับภาคเพราะฝุ่นควันข้ามจังหวัด(มองภาพระหว่างจังหวัด)

  4. การบริหารกองทุนอากาศสะอาดต้องมีความคล่องตัวและเป็นอิสระ เพื่อแก้ปัญหากระทรวง

  5. คัดกรองมะเร็งปอดให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ฝุ่นควันข้ามแดนแก้อย่างไร ???
- จัดเก็บภาษีที่ก่อมลพิษ (ภาษีบาป) นำค่าปรับมาเยียวยากลุ่มเปราะบาง อาสา ฯลฯ
- บูรณาการทุกอย่างเพื่อแก้ฝุ่นควันปี 67 ที่ผ่านมา จัดตั้งคณะกรรมการ PM2.5 แห่งชาติ (กลุ่มประเทศที่ก่อให้เกิดมลพิษ)
- กลยุทธ์สีฟ้า “ฟ้าใส” (ทำงานกับกลุ่มประเทศอาเซียน)
- PPP ปรับผู้ก่อมลพิษ
- มาตรการทางภาษีการนำเข้าสินค้าเกษตร/ยกเลิกการนำเข้าสินค้าก่อให้เกิดมลพิษ
- บอกพิกัด GPS แหล่งผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษ
- โครงสร้างการบริหารระดับพื้นที่ >>> ผู้ว่า CEO > คณะกรรมการอากาศสะอาดระดับจังหวัด > ศูนย์ปฏิบัติการด้าน PM2.5/มลพิษทางอากาศ > กลไกระดับอำเภอ ระดับตำบล พื้นที่เฉพาะ > เครื่องมือและกลไกบริหารจัดการ > ชุดเครื่องมือเพื่อการบริหารจัดการ 10 ด้าน

"ปัญหา PM2.5 คือ ความท้าทายของระบบราชการ"

ช่วงถาม-ตอบข้อเสนอประชาชน และจะดำเนินการเพิ่มเติมในร่างกฎหมาย
- ความเหลื่อมล้ำ ข้อมูลที่อคติ ปัญหาที่ดินที่กดทับ ต้องแก้ไข
- ปี 2568 เริ่มใช้กฎหมาย (เสนอนายกฯ) ขยายไซส์ของงบประมาณ และปรับช่วงเวลาของงบประมาณ
- มาตรา 6 หมวดที่ 4 หมอกควันข้ามแดน (ฉบับปัจจุบัน)
- ข้อมูลจากองค์กรปล่อยมลพิษ อำนาจการเข้าถึงข้อมูล ต้องรู้ลึก ถูกต้องที่สุด
- แนวทางการจัดการวัสดุทางการเกษตร แปรรูปวัสดุทางการเกษตร การใช้เครื่องจักรที่เหมาะสม เพื่อลดการเผา
- เจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน ได้ดำเนินการไปแล้ว
- ต้องบังคับใช้กฎหมายให้ดีที่สุด อัพเดท และจัดทำ พิจารณาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
- เพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตรที่ไม่เผา/Incentive/BOI/การเปลี่ยนวิธีการผลิต/การเข้าถึงแหล่งทุนในการเปลี่ยนการผลิต/การลดดอกเบี้ย
- เชิญทูตแต่ละประเทศ และแถลงข่าวการประกาศใช้กฎหมาย ในทุกแพลตฟอร์ม หลากหลายภาษา สร้างการรับรู้
- กลไกของทุกภูมิภาค องค์ประกอบของคณะกรรมการระดับภูมิภาค ที่ต้องเพิ่มเติม

​#พรบอากาศสะอาด

#คณะกรรมาธิการ

#สสส.

#UNDP

#สมาคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนภาคเหนือ

#สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

#เพราะเรามีลมหายใจเดียวกัน

#สภาลมหายใจเชียงใหม่

png (2).png
png (1).png
png (3).png
png (4).png
โลโก้องค์กร.jpg
png.png
โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page