top of page
ภาพวิว

เชียงใหม่,ตาก,กำแพงเพชร นำร่อง 3 จังหวัด
เครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นไหม้ซ้ำซาก 2567

ภาพบรรยากาศงานประชุม1
ภาพบรรยากาศงานประชุม2

6 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุมพลอยพลิน โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท เชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่          สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก) และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกองทัพภาคที่ 3  ร่วมเปิดตัวโครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” ภายใต้การสนับสนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ระบุว่า จากความร่วมมือของ กรมควบคุมมลพิษ กองทัพภาคที่ 3 และ สสส. โครงงานนี้ต้องการจะเข้าไปแก้ปัญหาในพื้นที่ที่เกิดไฟซ้ำซาก 80 ตำบล ใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร โดยจะ  นำเอาโมเดลที่ประสบความสำเร็จ เข้าไปสื่อสารแบบเชิงรุก สร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ ปัญหาที่เคยเกิด จะต้องลดลงหรือ  มีทิศทางที่ดี การบริหารจัดการไฟจากนี้จะง่ายขึ้น จะเอานวัตกรรมต่างๆ เข้าไปขับเคลื่อน สื่อสาร แจ้งเหตุ ตั้งเป้าให้เป็นพื้นที่โมเดลต้นแบบของความสำเร็จ และสามารถขยายผลเป็นสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป

ภาพบรรยากาศงานประชุม3
ภาพบรรยากาศงานประชุม4

ด้าน นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. ในฐานะผู้สนับสนุนการดำเนิน      โครงการฯ ระบุว่า หวังให้เกิดภาพการทำงานร่วม ระหว่างชุมชนกับส่วนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมาย คือเข้าใจ

เห็นปัญหาเดียวกัน ควบคู่กับการชี้ให้เห็นถึงทางเลือกและทางออก เป็นการเข้าไปติดอาวุธให้ชุมชน “จุดร่วมสำคัญของโครงการ

นี้ คือการสื่อสารเชิงรุก ยกระดับปฏิบัติการให้เข้มแข็งมากขึ้น 3 จังหวัด ในพื้นที่นำร่อง แม้จะที่มีความแตกต่างกันเชิงบริบท

ถ้าวันนี้ชุมชนเข้าใจ ชาวบ้านเข้าใจ ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้กำหนดนโยบาย เข้าใจ และเอาด้วย จะช่วยให้ปัญหาถูกแก้ได้

อย่างตรงจุด” นายชาติวุฒิ กล่าวย้ำ สำหรับโครงการสร้างการรับรู้เชิงรุกและสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผาในพื้นที่เสี่ยงต่อการเผาไหม้ซ้ำซากด้วย กระบวนการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) ในวงเงิน 3,997,500 บาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2567 คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือ พื้นที่ที่เกิดจุดความร้อน (Hotspot) สะสมหนาแน่น 3 ปีย้อนหลัง คือ ปี 2563  2565 โดยพิจารณาปัจจัยเชิงพื้นที่เพื่อให้ครอบคลุมลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ พื้นที่ชุมชนในเขตป่า พื้นที่ชุมชน       ในเขตรอยต่อป่า-เกษตร และชุมชนในพื้นที่เกษตร รวมทั้งความพร้อมของพื้นที่ในการให้ ความร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนิน    โครงการฯ ซึ่งมี 3 กิจกรรมที่สำคัญ คือ

1. สร้างการรับรู้ผ่านกิจกรรมเคาะประตูบ้าน ดำเนินการโดยกองทัพภาคที่ 3  ผ่านการสื่อสารเชิงรุก การลาดตระเวรป้องปราม กิจกรรมมวลชนสัมพันธ์ในกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ เช่น กลุ่มเข้าป่าล่าสัตว์  กลุ่มผู้น้า ชุมชนกลุ่มประชาชนทั่วไป โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 80 ตำบล ใน 3 จังหวัด แยกเป็นจังหวัดเชียงใหม่ 50 ตำบล , จังหวัดตาก 25 ตำบล และ จังหวัดกำแพงเพชร 5 ตำบล

2.การสร้างเครือข่ายชุมชนปลอดการเผา ดำเนินการ   โดยสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุม มลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก) และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์) มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 80 ชุมชน ใน 6 ตำบล 3 จังหวัด คือตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 17 ชุมชน , ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ 16 ชุมชน,ตำบลแม่สลิด อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก 13 ชุมชน ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก 13 ชุมชน ,ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 10 ชุมชน และตำบลปางตาไว อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร11 ชุมชน และ     

3. การสื่อสารให้ความรู้ในวงกว้างภาพรวมทั้งประเทศ ดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ ผ่านช่องทางการเผยแพร่ ที่สำคัญ

คือ Facebook แฟนเพจ “ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ” (ศกพ.)

ภาพบรรยากาศงานประชุม5

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 จากการเผา

ในที่โล่ง จากฐานความรู้และนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาให้เกิดความยั่งยืน ภายใต้ฐานความรู้ 8 ฐาน จากเครือข่ายชุมชนปลอดการเผา ตำบลแม่ศึก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) และหน่วยงาน

ร่วมดำเนินโครงการฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) สภาลมหายใจภาคเหนือ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง

(องค์การมหาชน) โดย ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ภาคเหนือ) ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทำงานโครงการ เชียงใหม่โมเดล สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

โลโก้สภาลมหายใจ2

“เชียงใหม่มีอากาศสะอาดที่ยั่งยืน”

เลขที่ 35 ถ.รัตนโกสินทร์ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000

(โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา)  โทร 061 269 5835

  • Facebook
  • Youtube
  • TikTok
  • Instagram
bottom of page