
โครงการศิลปินเพื่อลมหายใจ Art for Air

ART for AIR “โครงการศิลปะเพื่อลมหายใจ”
คือการแสดงพลังของนักศิลปะ วัฒนธรรม ภาคประชาสังคมในเมืองเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงเพื่อแสดงจุดยืนในการมีส่วนร่วมต่อการแก้ปัญหาฝุ่นควันในอากาศ (pm 2.5) ที่เรื้อรังมากว่า 10 ปี ART for AIR มีเจตจำนงที่จะใช้กิจกรรมทางศิลปะและสังคม
ในการเคลื่อนไหวผลักดันการแก้ไขปัญหาทั้งระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยะยาว ในปีพ.ศ. 2563 นี้ จะมีการระดมทุน
ผ่านกิจกรรมการประมูลผลงานศิลปะ เพื่อเป็นอีกแรงหนึ่งในการขับเคลื่อนสภาลมหายใจ ซึ่งเป็นแกนนำหลักที่จะเชื่อมต่อ
ภาคประชาสังคมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นเอกภาพ มุ่งไปสู่เป้าหมายทำให้สังคมของเรามีอากาศสะอาดในทุกฤดูกาล
การเริ่มต้นของกลุ่มศิลปินเพื่อลมหายใจ Ari for Air
คามิน เลิศชัยประเสริฐ เพิ่งชักชวนเพื่อนศิลปินร่วมสมัยอีก 24 ท่าน ส่งผลงานส่วนตัวมาจัดงานประมูลศิลปะภายใต้โครงการ ART Auction for AIR เพื่อระดมทุนสำหรับให้กลุ่ม ‘สภาลมหายใจเชียงใหม่’ นำไปเป็นค่าดำเนินการเคลื่อนไหวแก้ปัญหาฝุ่นละออง ในเชียงใหม่และภาคเหนืออย่างจริงจัง โดยมีการจัดประมูลไปแล้ว ในวันเสาร์ ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่โครงการ One Nimman
ศิลปะเพื่อลมหายใจ กับ สภาลมหายใจเชียงใหม่
ต้นเดือนธันวาคม 2562 ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ แกนนำสภาลมหายใจเชียงใหม่ ณ ขณะนั้น โทรศัพท์หาคามิน บอกจุดประสงค์ว่าเขา กับพันธมิตร กำลังจะก่อตั้ง ‘สภาลมหายใจเชียงใหม่’ ภาคประชาสังคมที่ระดมกำลังทุกภาคส่วนในการแก้วิกฤตฝุ่นละออง ในเชียงใหม่ ชัชวาลย์ อยากให้คามินช่วยออกแบบโลโก้ให้แก่กลุ่ม เพื่อจะได้นำโลโก้ดังกล่าวไปทำเป็นของที่ระลึกวางจำหน่ายนำเงิน มาสมทบทุนในการดำเนินกิจกรรม อย่างไรก็ดี คามิน-ศิลปินที่นับถือชัชวาลย์ในฐานะคนทำงาน เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยอุดมการณ์อย่างแท้จริง “กลับปฏิเสธ” “ผมบอกพี่ชัชวาลย์ไปว่า ในเวลาเท่ากันกับการออกแบบโลโก้ ผมวาดรูปชิ้นเดียว แล้วเอาไปขาย ยังได้เงินมามากกว่า ให้ผมช่วยพี่ด้วยวิธีอื่นดีกว่า เลยเสนอไอเดียในการชวนเพื่อนศิลปินคัดเลือกชิ้นงานของตัวเองคนละหนึ่งชิ้น มอบให้กองทุนนี้เอาไปประมูล หาเงินมาขับเคลื่อนโครงการจะดีกว่า” คามินกล่าว และนั่นคือที่มา ของงานประมูลศิลปะที่กำลัง จะเกิดขึ้น คามินไล่โทรศัพท์หาเพื่อนศิลปิน ชวนให้พวกเขาบริจาคผลงานมาประมูล ซึ่งแน่นอน ทุกคนมีคำถาม-เอาเงิน ไปทำอะไร สภาลมหายใจเชียงใหม่คืออะไร ใครคือสภาลมหายใจฯ เคยทำอะไรมาแล้วบ้าง อนาคตจะทำอะไร และอีกมากมาย ซึ่งคามิน ตอบคำถามไม่ได้ “ผมบอกแค่ว่าผมเชื่อพี่ชัชวาลย์ เขาทำงานจริงและน่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ เลยนัดทุกคนมาที่บ้าน
และนัดให้พี่ชัชมาเล่าถึงโครงการให้ทุกคนฟัง ใครไม่เชื่อไม่เป็นไร แต่ผม เชื่อเขา” คามินกล่าว
ศิลปะเพื่อลมหายใจ : โครงการศิลปะของคามินและเพื่อน เพื่ออากาศที่ดี
ของเชียงใหม่และโลก
หากคุณทำงานภาคประชาสังคม ไม่มีทางที่จะไม่รู้จัก ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ ผู้ก่อตั้งโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา และประธานมูลนิธิสืบสานล้านนา พร้อมไปกับการขับเคลื่อนด้านศิลปวัฒนธรรมและการศึกษา ชัชวาลย์ อยู่ในแวดวงเอ็นจีโอเพื่อสิ่งแวดล้อม
มาทั้งชีวิต เขาเป็นหนึ่งในผู้ร่วมทำกิจกรรมต่อต้านการสร้างบ้านพักของข้าราชการศาลที่ขึ้นไปปลูกบนเนินเขาเชิงดอยสุเทพ
(บ้านป่าแหว่ง) และขับเคลื่อนในการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหามลภาวะของเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง “ทุกคนมีส่วนทำให้เกิดหมอกควัน
เราโทษกันไปมาอีกไม่ได้แล้ว นี่เป็นปัญหาที่เชื่อมกันหมด ทั้งสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิตทั้งในเมืองและชนบท และเศรษฐกิจ
สภาลมหายใจเชียงใหม่ตั้งขึ้นมาเพื่อทำงานประสานกันทุกส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และชาวบ้าน อย่างการหาวิธีการจัดการไร่ข้าวโพดอย่างยั่งยืน การจัดการกับป่าผลัดใบ โดยไม่ต้องเผาใบไม้ หรือรณรงค์ด้านขนส่งมวลชนเพื่อลดการใช้พาหนะส่วนตัวในเมือง เป็นต้น
แน่นอน เมื่อมองว่าทุกคนในเมืองมีส่วนทำให้เกิดหมอกควัน แม้ไม่ได้เป็นคนเผาใบไม้หรือขยะ การที่คามิน ระดมเงินทุนผ่านการประมูลศิลปะ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่เขาหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาเรื้อรังของเมืองที่เขาอาศัย “ตอนแรกคิดกันว่าจะชวนศิลปินสร้างงาน
ขึ้นมาใหม่และทำการประมูลกัน แต่ด้วยเวลาที่จำกัด ก็กลัวกันว่า จะทำไม่ทันหรือทำแล้วงานอาจไม่มีคุณภาพมากพอ ซึ่งอาจหาเงินจากการประมูลไม่ได้ เลยให้ศิลปินแต่ละท่าน เลือกงานที่ตัวเองมีอยู่แล้ว ส่งมาประมูลดีกว่า ขณะเดียวกันก็ชวนศิลปินร่วมสมัย
ที่อยู่ในภาคเหนือ มาสร้าง งานขึ้นมาใหม่โดยมีเนื้อหาเชื่อมโยงไปกับปัญหาสิ่งแวดล้อม แล้วจัดแสดงนิทรรศการกันอีกทีเดือนเมษายนนี้” คามินกล่าว จริงๆ คือการเข้าใจกฎธรรมชาติ ซึ่งมันไม่ใช่แค่ระบบนิเวศ การเข้าใจในหน้าที่ของตัวเองในสังคม
ก็เป็นการเข้าใจกฎธรรมชาติ ในฐานะศิลปิน ผมสามารถทำงานศิลปะเพื่อระดมเงินทุนให้คนที่ทำงานด้านให้ การศึกษาหรือ
การรณรงค์ขับเคลื่อนต่อไปได้ ใครทำอะไรได้ก็ช่วยกันไป อย่างคุณเป็นนักข่าว คุณมีหน้าที่ นำความจริงมาเผยแพร่ ก็เป็นหน้าที่หนึ่งในกฎธรรมชาติ การมองอากาศก็เป็นส่วนหนึ่งของเซน ท้องฟ้าอากาศมันไม่มีประเทศไง มันไม่ได้บอกว่านี่อากาศของไทย อันนี้
ของพม่า แต่มันคืออากาศเดียวกันทั้งโลก เวลาผมมองปัญหามลภาวะของเชียงใหม่ จึงไม่ได้เห็นแค่ในเชียงใหม่
แต่มันส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ รวมถึงต่อเพื่อนบ้าน และต่อโลก ถ้ามีคนโต้แย้งว่าโลกเดินทางมาไกลเกินจะหันหลังกลับแล้ว
ตื่นตัวไปก็เท่านั้น แต่คุณจะทนอยู่ในเชียงใหม่ หรือในประเทศที่ทุกฤดูแล้งก็มีมลภาวะทางอากาศรุนแรงอย่างนี้ได้ตลอดหรือ
คุณจะต้องหาหน้ากากมาสวมตอนออกจากบ้านทุกวันในรอบหนึ่งหรือสองเดือน ของทุกปีได้หรือ คนส่วนใหญ่ก็คิดแบบนี้
เพราะคิดว่าชีวิตประจำวันเราไม่อาจเลี่ยงอะไรได้เลย เราไม่สามารถนั่งเรือข้ามมหาสมุทรแทนการนั่งเครื่องบินแบบเกรต้าได้ ขณะเดียวกันลำพังแค่กินเนื้อสัตว์ ก็ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อให้นายทุนนำมาเลี้ยงอาหารสัตว์ ซึ่งทำให้ต้องเกิดการเผาไร่ เผาป่าอีก แต่ถ้าเราตระหนัก และรู้จักเลือกใช้ เลือกบริโภคเท่าที่จำเป็นจริงๆ ทำคนเดียวมันไม่เห็นผลหรอก แต่ถ้าคนตระหนักพร้อมกันในจำนวนมหาศาล มันสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ผมโทรชวนเพื่อน และเพื่อนก็จะถามด้วยความกังวลหลากหลายมาก พี่ชัชวาลย์คือใคร เอาเงินไปทำอะไร เชื่อถือได้มากแค่ไหน แล้วถ้าให้งานไปประมูล ถ้าประมูลไม่ได้ราคาจะทำยังไง ผมก็บอกว่ามึงก็ต้องมาฟังไง แล้วผมก็มานั่งคิด จริงๆ ทุกคนก็อยากช่วยเหลือเมือง ช่วยเหลือสังคม แต่เรา เชื่อใครไม่ได้เลย ไม่มีใครให้กูเชื่อ ไม่มีองค์กรให้เชื่อ รัฐบาลก็ไม่น่าเชื่อถือ เราขาดความเชื่อถือความเป็นมนุษย์ ของคนอื่น “ไม่ใช่ว่าผมเชื่อสภาลมหายใจฯ แบบร้อยเปอร์เซ็นต์นะ
สิ่งที่ผมทำนี่คือผมเชื่อพี่ชัช เพราะผมรู้จักเขาเมื่อสามสิบปีก่อน เขาชวนผมมาทำโครงการป่าต้นน้ำ แล้วทุกวันนี้เขาก็ยังทำเรื่องธรรมชาติกับการอนุรักษ์เหมือนเดิม ผมไม่อยากเชื่อว่าคนเราสามสิบปีแล้ว ยังทำเรื่องเดียวกันนี้อยู่ ทั้งๆ ที่ก็ไม่ได้เป็นงานที่มี
ผลตอบแทนส่วนตัวมากมายอะไรเลย” ปีที่แล้วอากาศเชียงใหม่แย่มาก หายใจไม่ออก ผมคุยกับภรรยาว่าจะขายบ้านทิ้ง ย้าย
จังหวัดไปอยู่ที่อื่นดีกว่า เชียงใหม่อากาศแย่ติดอันดับโลก ไม่น่าอยู่แล้ว แต่คุณคิดดู ขณะที่ผมคิดแก้ปัญหาด้วยการทิ้งมันไป
พี่ชัชสู้เพื่อคนอื่นตลอดมา สู้เพราะคิดว่าเราทำให้อากาศมันดีขึ้นได้ คนพวกนี้ของจริง จิตละเอียดกว่าเราอีก แล้วเราพูด เรื่องศิลปะ ธรรมะ ไม่มีเลยในตัวเรา หลอกชาวบ้านได้ แต่หลอกตัวเองไม่ได้ ไอ้ Pure Perception คือการมองเข้าไปวิพากษ์ในตัวเอง แล้ว
ตัวเราน่ะคือปัญหา การทำงานชุดนี้คือการพยายามก้าวข้ามตัวเราเอง ก้าวข้ามความคิดว่าเราเป็นศูนย์กลาง คามิน เลิศชัยประเสริฐ